Terms and Conditions เป็นสิ่งที่ตอนเราจะกดสมัครสมาชิกเรา”จำเป็น”ต้องกด “ยอมรับ” เพื่อใช้บริการ ข้อตกลงนับร้อยบรรทัด ความเป็นส่วนตัวนับร้อยที่หายไป เรื่องนี้จะพูดว่าเป็นหนังก็ไม่เชิง ผมว่าให้เรียกว่าเป็นสารคดีอาจจะสวยกว่า เชิญพบกับรีวิวแบบไร้ความรู้ เรื่อง Terms and conditions may apply ได้เลยครับ
Terms and Conditions เป็นสารคดีที่นำเรื่องของความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตมาตีแผ่ให้เห็นถึงความสำคัญ สารคดีเปิดเรื่องด้วยข้อตกลงยาวเหยียด กับตัวอักษรเล็กๆเพื่อทำให้ถูกกฏหมาย และกล่าวถึงเนื้อหาในข้อตกลงการใช้งานแบบภาพรวมกว้างๆ และส่วนใหญ่ในเรื่องนี้พูดถึงการแทรกแซงจากรัฐบาล CIA, FBI, NSA ว่า Social Network ทำให้ “ฝัน” ของพวกเขาเป็นจริง เพราะเพียงแค่”ขอ” ก็ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว
มีการพูดถึงเรื่อง Privacy เป็นส่วนมากของเรื่องว่าจากข้อตกลง Terms and Conditions เราเสียความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของเราไปเท่าไร มีการนำ Terms and Conditions ของ Google ฉบับแรกของแท้ กับฉบับแรกที Google บอกมาเทียบกัน จะพบความแตกต่างในเรื่องความเป็นส่วนตัวอย่างมโหฬาร
และที่ผมชอบในเรื่องนี้คือมีกาีนำเรื่องอุทาหรณ์ของคนที่ใช้ Social network แล้วนำภัยมาสู่ตัว เช่นมีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนนึงทวีตว่าเขาจะไป”ถล่ม”อเมริกาในลักษณะตลกๆ ก่อนเข้าขึ้นเครื่องบิน ตอนลงจากเครื่องเขาโดนสอบสวนและลากเข้าห้องมืดไป การกระทำของเขาครั้งนั้นทำให้เป็นประวัติติดตัวไปทุกที่ๆเขาเดินทางไป
หรือที่ผมขำที่สุด(#ผิด)คือมีดาราตลกคนนึงชื่อ Joe Lipari โพสข้อความตามหนังซีรีส์เด้ะๆประมาณว่าชั้นจะเตรียมปืน P9 ไปถล่มร้าน Apple Store ผลคือหลังจากนั้นเขาโดน FBI ถล่มบ้านพักของเขา ที่น่าสนใจคือFBI บอกว่าเพื่อนเขาโทรแจ้ง 911 เมื่อเขาขอใช้สิทธิ์ของเขาเพื่อฟังบันทึกเสียง กลับบอกว่าเรียกดูไม่ได้ และกลับคำบอกว่ามีคนเดินไปแจ้งที่ป้อมตำรวจแทน ประเด็นคือแม้แต่เพื่อนของเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาอยู่ที่ไหน ที่อยู่ทุกอย่างชี้ไปที่อพาร์ทเมนต์เก่าแต่ทำไม FBI กลับหาบ้านเค้าเจอถ้าไม่ใช่เพราะ…
ในสารคดีพูดถึงว่าข้อมูลที่เรากดลบมันก็แค่ทำให้เราเห็นว่ามัน “หายไป” แต่จริงๆอาจจะยังไม่ถูกลบก็เป็นได้ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บในรูปที่ไม่สามาถระบุตัวตนได้ แต่ถ้ามีใครต้องการใช้ข้อมูลนั้น[เช่นรัฐบาล]ก็พร้อมที่จะระบุตัวตนได้ทันที [แล้วมันจะมีความหมายอะไร??]
ในตอนสุดท้ายทีมงานได้บุกบ้านของ Mark Zukerburg เพื่อขอสำภาษณ์ พี่มาร์คปฏิเสธอารมณ์เสียและขอให้หยุดถ่าย เมื่อหยุดถ่ายสังเกตได้ว่ามาร์คดูอารมณ์ดีขึ้น[จากกล้องลับอีกตัวนึง] [โดยทีมงานบรรยายว่ามันก็ยุติธรรมดีถ้าผมจะถ่ายคุณในขณะที่ผมบอกว่าไม่ได้ถ่าย ก็เหมือนกับการที่เราขอไม่ให้คุณติดตามเราแต่คุณก็พยายามทำ]
โดยส่วนตัวผมว่าเรื่องนี้ถ้าไม่มีความสนใจด้าน Privacy,Security ดูไปหลับแน่นอนครับ คือมันไม่ใช่หนัง สำหรับผมมันเป็นสารคดีเลยทีเดียว
สรุป เนื้อหาดี สามารถสะท้อนปัญหาของสภาพโลกอินเทอร์เน็ตปัจจุบันที่ขาดความเป็นส่วนตัวได้ออกรส แต่เนื้อหาและการนำเสนอออกไปในแนวน่าเบื่อครับให้คะแนนเรื่องนี้ 6⁄10 ครับ
ชอบบทความนี้รึเปล่า?
กดทวิตเป็นกำลังใจ 🤟