เคยคิดว่าจะเขียนหลายครั้งมากๆ แต่คิดว่าเราก็ไม่ได้เก่งขนาดที่จะต้องมีอะไรมาแชร์คนอื่น ถึงตอนนี้ผลสอบก็ออกแล้ว(แต่ยังไม่รู้ว่าได้เรียนที่ไหน) แม้จะไม่สูงมากเหมือนเพื่อนหลายๆคนแต่อยากเขียนบล็อกนี้ไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้อง ให้เป็นเรื่องที่มีสาระที่สุดตั้งแต่เริ่มเขียนบล็อกมา 555555555555
*เป็นบล็อกที่ค่อนข้างตั้งใจเขียนมากหวังว่าจะสร้างประโยชน์ให้รุ่นน้องคนสองคนก็ยังดี
* สอบเข้าได้ลำดับที่ 25 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น 78)
* ห้องคิง สายวิทย์-คอม ม.5
* ห้องควีน สายวิทย์ ม.6
* เกรดเฉลี่ย 6 เทอม 3.79
* PAT1: 158/300, PAT2: 165/300, PAT3: 252/300, GAT ENG: 132.5/150, GAT Thai: 150/150, Onet วิทย์: 90.4/100, Onet Eng: 96.25/100, Onet เลข 100/100
* 9 วิชา เลข 84/100, ฟิสิกส์ 80/100, ชีวะ 83.75/100, เคมี 72/100, อังกฤษ 82.5/100, ไทย 78/100, สังคม 76/100
เนื่องจากเราอยากเข้าแพทย์ และไม่อยากได้วิศวะ(มากๆ) ดังนั้นการสอบ Gat-Pat และเกรดที่โรงเรียนไม่เคยอยู่ในสายตาเราอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ เทจ้า เท เท เทททททททท
เราไม่เคยทำข้อสอบ Gat จับเวลา ไม่เคยทำข้อสอบ Pat1, Pat2, Pat3 จับเวลา เห็นครั้งแรกเปิดซิงในห้องสอบเลย คะแนนเลยเน่าอย่างที่เห็น 555555555555555
ส่วน Gat ไทย เชื่อมโยงที่จะให้บทความมา 2 บท ก็บอกได้เลยว่า ใครที่จะเข้าแพทย์ ข้อสอบความถนัดแพทย์พาร์ทเชื่อมโยง ความยากคนละชั้น กระดูกคนละเบอร์ ใครที่ติวความถนัดแพทย์มาอยู่แล้วก็เทจ้า เททททททททท ออกตรงไปตรงมา คำก็มีขีดเส้นมาให้บ้าง ไม่ค่อยมีอะไร
เราเริ่มอ่านหนังสือตอนประมาณปลายเดือน พ.ค. ปี 2017 เริ่มอ่านนี่คือเริ่มอ่านแบบชิวๆ เอาไปทำที่ รร บ้างไรงี้ ที่เริ่มจริงจังมากๆน่าจะประมาณเดือนสิงหา ถ้านับถึงวันสอบก็ประมาณ 6-7 เดือน แต่เรื่องเรียนพิเศษอันนี้ทุกคนก็คงเรียนกันมาสม่ำเสมออยู่แล้ว
การแบ่งเวลา
ช่วงก่อนสอบก็ลดกิจกรรมลงให้หมด ไม่ว่าจะเขียนโปรแกรม ทำเว็บ ไปเที่ยว เล่น Vainglory ดูหนัง (โดยปกติเป็นคนชอบดูหนังมาก แต่ช่วงก่อนสอบก็ลดแบบเลิกไปเลย)
มันมีแอพที่เพื่อนโรงเรียนเราชอบใช้กันคือแอพ Forest ที่เอาไว้ปลูกป่า ใครอ่านนานก็จะได้ต้นไม้มาก ต้นไม้โต เอาไว้แข่งกับเพื่อนๆได้ว่าใครอ่านมากกว่ากัน ส่วนเราใช้ Bear Focus Timer หลักทำงานของแอพคือมันจะนับเวลาที่เราคว่ำจอโทรศัพท์ลง พอทำครบเวลาก็มีเวลาพักให้ มีแอพอะไรสนุกๆไว้ก็ดีกว่าไม่มีเนาะ 555555555
การวางตารางอ่านหนังสือ
ก่อนหน้านี้เราจะใช้ Calendar ในการวางตารางการใช้ชีวิต แต่ตอนหลังช่วงใกล้ๆสอบ รู้สึกว่าไม่อยากหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อดูตารางอ่านหนังสือ เลยเน้นการวางแผนล่วงหน้าประมาณ 10-15 วันแทน
ปฏิทินอ่านหนังสือเดือน พ.ค. 2017
Innn’s practical planner
ในเรื่องการอ่านหนังสือแต่ละวิชาก็มีวิธีอ่านต่างกันไป จะเขียนแยกเป็นรายวิชาด้านล่าง
เราเป็นคนที่เกลียดเลขมาก เกลียดแบบรู้สึกว่ามันยาก เรามองมันไม่ออก แต่สิ่งที่ช่วยได้มากคือข้อสอบ 9 วิชา เลขแต่ละปี แนวจะซ้ำๆเดิม เช่นจะมีออกเรื่องดิฟนอกดิฟไส้ทุกปี 1 ข้อ มีเรื่องการแจกแจงปกติ 1 ข้ออะไรประมาณนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเอาข้อสอบเก่ามานั่งทำแล้วดูว่าเราไม่แม่นจุดไหนก็ช่วยได้มาก
แนะนำ: เอาข้อสอบเก่ามาทำสักปีนึงก่อน อาจย้อนไปสัก 2-3 ปี เอามาทำสักปีนึงก่อน ให้เห็นแนวข้อสอบ ว่าออกแบบนี้นะแบบนี้นะ ดูเป็นแนวไว้ อย่าเพิ่งเอามาทำหมด เสียดายข้อสอบ พอดูเสร็จปั้บก็เริ่มตะลุยโจทย์ที่เรียนพิเศษเอย หนังสือต่างๆเอย พอเริ่มแม่นขึ้นก็เอาข้อสอบเก่ามาทำ จับเวลาจริงจัง ดูว่าเราพลาดเรื่องไหน ก็จัดการเรื่องนั้น
หนังสือแนะนำ
ก็เป็นหนังสือของพี่ณัฐ แนะนำให้ทำเป็นลำดับเริ่มด้วย Syntax -> Vaccine -> Crack คือเพื่อนเราส่วนใหญ่ทำ 25 พ.ศ. ด้วย แต่เราขี้เกียจทำ และ Crack เราก็ทำไม่จบ ที่จบจริงๆคือ Syntax และ Vaccine
อีกเล่มนึงที่แนะนำคือตะลุยแนวข้อสอบเลข 9 วิชาสีส้มๆ คือบางชุดก็ลอกข้อสอบเก่ามาเลย แต่ก็มีโจทย์เพิ่มด้วย เยอะดี ทำไปเกือบหมด ก็ดีเหมือนกัน ใช้คำว่าแนะนำ
(มีอีกเล่มนึงของพีณัฐ สีชมพูที่บอกว่าตะลุยแนวข้อสอบตรง สทศ เป๊ะ อันนั้นคือ ชุดแรกนี่เกือบก็อปข้อสอบเก่ามาเลยเราก็เลยทำแค่ 2 ชุดแล้วเลิกทำ เพราะเคยทำข้อสอบเก่ามาหมดแล้ว)
9 วิชาจะออกพาร์ท Grammar ไม่เยอะเท่าไร สิ่งที่เน้นคือเวลา Speed test ปีเราบีบเวลามาก สมมุติให้มา 5 Paragraph ข้อแรกถาม Paragraph 1 ข้อต่อไป Paragraph 2 จนถึง Paragraph 5 สรุปทุก Passage อีก 1 ข้ออะไรประมาณนี้ มีเพื่อนทำไม่ทันอยู่หลายคน บีบเวลาจนเราก็เกือบทำไม่ทัน ไม่มีเวลาคิดบางข้อ คะแนนเลยออกมาได้แค่นี้ 5555555555555
หนังสือแนะนำ
* แนวข้อสอบ 9 วิชา เล่มนี้ใช้คำว่าดีมาก เราแนะนำเพื่อนไปหลายคน และรุ่นพี่ก็แนะนำลงมาให้รุ่นน้องหลายคน และเราก็จะแนะนำให้รุ่นน้องอีกต่อๆไป คือคล้ายๆแนวข้อสอบ จริงๆเลย แต่รู้สึกว่าง่ายกว่าของจริง ทำแล้วเวลาเหลือ (อาจเพราะเราไม่ต้องเสียเวลาฝน) ตอนทำก็จับเวลาจริงๆ เหมือนสอบจริงๆ อย่าทำเล่นๆ เสียดายข้อสอบ
แนะนำที่เรียนพิเศษที่เราเรียน: Able
เราอ่านแกรมม่าบ้าง แต่ส่วนใหญ่เน้นไปที่การทำโจทย์พวก reading เพื่อแข่งกับเวลา ห้ามทำเฉยๆ เสียดายข้อสอบ จะทำก็จับเวลาไปเลย ดูว่าทำแล้วมันทันไหม ไม่ทันเพราะอะไร
ตอนเราทำเล่มแนวข้อสอบจะเหลือเวลาประมระมาณ 5-15 นาที แล้วแต่ชุด คือเว้นไว้ให้เรารู้ไว้ว่าอันนี้ลองทำที่บ้าน ของจริงเราต้องมีเวลาฝนคำตอบด้วย เน้นเรื่องเวลา สำคัญมากสำหรับวิชาภาษาอังกฤษ
ข้อสอบอังกฤษที่บีบเวลาที่สุดในชีวิตคือข้อสอบ 9 วิชานี่และ คือถ้าคนที่เคยทำมาจับเวลามามากๆ จะรู้ว่าเหลือเวลาเท่านี้ เราต้องใช้ข้อละกี่นาที เราต้องข้ามแล้วนะ เราต้องตัดสินใจเลยวินาทีนี้ ถ้าปล่อยไปอีก เราจะทำที่เหลือไม่ทัน เราต้องตัดใจ ฝนลงไป ต้องระลึกว่าถ้าค้างไว้ความชิบหายมาเยือนแน่ๆ (เราเป็นคนทำข้อสอบเรียงข้อ ทำจากข้อ 1 ไป 80 ไม่เว้น ไม่ข้าม เพราะเสียเวลาพลิกข้อสอบ)
เป็นวิชาที่เราชอบที่สุดในทั้งหมด 7 วิชา เรียนพิเศษตะลุยเนื้อหาและตะลุยโจทย์ของเซ้ง (ซึ่งดูไม่ค่อยมีคนเรียน เนื่องจากมีเรื่องฉาวเยอะ) ใครตังเหลือก็ลงธวัชชัยไป ที่ใช้คำว่าตังเหลือคือที่เค้าสอนจะยากเกินไปมากๆ ใครทนเรียนก็เรียนไป ทนไม่ได้ก็โดดไป ถ้าทำโจทย์เขาได้หมดจะเป็นก็อดฟิสิกส์ (เวอร์ไปหรอ ก่อนไปเรียนเราก็คิดว่าเรามั่น ไปเรียนแล้วถอยเลย) แล้วเอาโจทย์มานั่งทำ ทำความเข้าใจ อย่าเรียนแบบท่องจำว่าข้อนี้ทำแบบนี้ แต่รู้ถึงแก่นมันจริงๆว่าทำไมถึงเกิดแบบนี้ ข้อสอบฟิสิกส์แต่ละปีจะมีทั้งปีที่ง่ายมาก ปานกลาง และยากไปเลย ออกเกินไปเลย ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าข้อสอบปีก่อนหน้านั้นโดนคนวิจารณ์ว่ายังไงบ้าง แบบปีก่อนหน้าเราคนบ่นว่าง่ายไปนิสนุง ปีนี้ก็เลยยากขึ้นนิสนุง
ถึงจะเป็นวิชาที่ชอบมากที่สุดและทีแรกหวังคะแนนไว้มากกว่านี้มากๆ แต่ก็ไม่เป็นไปตามที่อยากได้เท่าไร 😢
ฟิสิกส์เราเรียนพิเศษแค่สองที่คือธวัชชัย และเซ้ง มีเพื่อนไม่น้อยเรียน Applied Physic ของอาจารย์เผ่า แต่คอร์สตะลุยโจทย์ โจทย์ไม่ยากมาก ชอบเอาข้อสอบเก่ามาใส่ๆ เอามาทำเองก็ได้ (ซึ่งเราก็ซีเอา 555555555)
เนื้อหาเยอะ ก็ทำ Short note สั้นๆกันลืม
เราเป็นศิษย์อาจารย์อุ๊ เรียนมาตั้งแต่คอร์ส ตะลุยโจทย์มต้น เรียนคอร์สตามชั้นทุกคอร์ส เรียนคอร์สเอน เรียนคอร์สตะลุยโจทย์ ดังนั้นตอนเราอ่านหนังสือ เราก็อ่านคอร์สเอนอาจารย์ทั้ง 5 เล่ม อ่านเล่มตะลุยโจทย์อีก 1 เล่ม ทำข้อสอบเก่าที่อาจารย์อุ๊ซีให้ใหม่เกือบหมด (จำได้เลยว่านั่งทำตอนช่วงปีใหม่) เราอ่านของอาจารย์อุ๊อย่างเดียว เรียนที่เดียว ไม่เรียนที่อื่นเลย แต่ก็ได้แค่ 72 😢
วิชานี้เราเรียนพิเศษที่เดียวจริงๆคืออาจารย์อุ๊ หนังสือข้างนอกเราไม่ทำ (เวลาหมด)
เราอ่านจาก Bio by Tent ที่เป็นรูปเต่าทอง เป็นหนังสือในตำนานที่นักเรียน ม.ปลายทุกคนต้องมี คือไม่ต้องไปหาที่ไหนมาอ่านเยอะอะ จำเล่มนี้ให้ได้ทุกตัวอักษรเท่านั้นก็ก็อดมากแล้ว
ผ่านการใช้งานมาหนักหน่วง เป็นเล่มที่ชอบที่สุดเลย
นอกจากอ่านเองแล้วก็เรียนพิเศษเอา อ่านที่เรียนพิเศษเอา
เทคนิคของวิชานี้ คือการทำ Short Note แล้วท่อง ท่อง ท่อง เข้าไป อันไหนจำไม่ได้ก็นึกเค้นออกมาจากหัว แล้วเขียนลงไป ไอพวกวัฒจักร Krebs’, Calvin cycle, พืช C3 C4 ทำงานยังไง สารจากอะไรเปลี่ยนเป็นอะไรเนี่ย ออกบ่อยมาก ท่อง ท่อง ท่องเข้าไป
หนังสือแนะนำนอกจากเต๊นแล้ว คือเล่มปลาหมึก สีดำๆ หนาๆ สีๆ แพงๆหน่อย คือไม่ได้บอกให้อ่านหมดนะ แต่แบบมีไว้ก็ดี เรื่องไหนงง อยากรู้มากๆก็ไปเปิดดู ละเอียดมาก (เกิน) ย้ำอีกครั้งว่าไม่ได้บอกให้อ่าน แค่มีไว้เปิดในเรื่องที่สงสัยพอ
การทำ Short Note ให้เริ่มด้วยการอ่านหนังสือเต๊นให้จบสัก1-2 รอบก่อน รอบแรกคือการแสกนเนื้อหาว่าบทนี้มีอะไรบ้าง (แต่ตาอย่าแสกนนะ หมายถึงให้อ่านจริงๆ) รอบที่สองคือเริ่มจำอย่างจริงๆจัง พอรอบต่อมาเราเปิดอ่านเราจะรู้ว่าตรงไหนเป็นจุดที่ต้องทำ Short Note ก็ซื้อสมุดเล่มดีๆ มีปากกาสีสวยๆ ค่อยๆบรรจงไป
ทั้งชีวิตเราไม่เคยทำ Short Note อะไรจริงจัง ชีวะมปลาย เป็นครั้งแรกที่เริ่มเขียน ละก็บอกได้เลยว่ามันคุ้มค่าความพยายามมาก อย่าขี้เกียจ และบอกว่าทำไปก็ช่วยไม่มากหรอก
ย้ำอีกที มัน คุ้ม ค่า ความพยายาม มาก มาก มาก
แนะนำที่เรียนพิเศษที่เราเรียน: Able
จริงๆเราเรียนหมอพิชญ์คอร์ส OPD1,2,3,4,5,6, ICU, ตะลุยโจทย์ด้วย แต่เราจดไม่ทัน ไปเรียนและหลับ รู้สึกไม่ค่อยชอบเท่าตอนม.ต้น
สรุปชีวะเราเอง
เป็นเรื่องของดวง ตอนทำก็ไม่รู้ว่าจะได้เท่านี้ มันดวงจริงๆ แต่ก็มีไอพวกเหนือมนุษย์ที่ได้ 80 กว่ากัน ไม่รู้ว่าเอาหนังสือสังคมมาหนุนนอน และกินข้าวเช้าเป็นหนังสือสังคมรึเปล่า แต่คนแบบนี้ก็มีจริงๆ
เราอ่านหนังสือ Turbo ของอาจารย์ปิงอย่างเดียวเลย
แนะนำที่เรียนพิเศษ: ดาว๊อง
ทุกปีจะออกเรื่องเดิมๆ แนวเดิมๆ แค่เปลี่ยนโจทย์ ออกแบบนี้เลยแต่เปลี่ยนโจทย์ เช่นแบบ การใช้คำ 2 ข้อ ทุกปีก็ออกแบบนี้เลย แต่เปลี่ยนคำไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นวิชาที่เราทำได้แย่ ออกมาจากห้องก็รู้เลยว่าจะได้น้อย ก็น้อยจริงๆ 55555555555 ในส่วนของเรื่องจับใจความ ลำดับเหตุผล ทุกอย่างมีหลักของมัน จับหลักให้ได้ก็ทำได้ เป็นวิชาที่เก็บคะแนนไม่ยาก(แต่เราเก็บไม่ได้)
แนะนำที่เรียนพิเศษ: ดาว๊อง
คือไทยกับสังคมเราเรียนแค่ปิงดาว๊อง คอร์ส Turbo สรุปหมดเลย อ่านเล่มเดียวพอ เสียเวลา สำหรับใครที่มาอ่านบล็อคนี้เร็วหน่อย แล้วเหลือเวลาว่างมากๆก็อาจลง intensive ของดาว๊องไป เพราะในเรื่องประวัติศาสตร์ไรงี้ ก็จะเล่าเรื่องสนุก และช่วยให้จำได้มากขึ้น
เป็นพาร์ทที่มีน้ำหนักมากถึง 30% มีที่เรียนอยู่ 2 ที่คือออนดีมาน ละก็หมอแผน ก็ควรเลือกเรียนซักที่นึง เช่นอย่างเราเลือกหมอแผน ก็สามารถซีหนังสือ Ondemand มาทำได้ (หาได้ตามร้านถ่ายเอกสารโรงเรียน ไม่ก็ขอเพื่อนด้วยหน้าตาน่าสงสาร) Ondemand มี online solution ให้เสร็จสรรพ ส่วนหมอแผนก็มีหนังสือเฉลยให้เหมือนกัน เลือกเรียนซักที่ดีเหมือนกัน คือความถนัดแพทย์เป็นตัวดึงคะแนนที่สุดเลย ขอบ่นให้ฟังเป็นพาร์ทๆ
-พาร์ทเชาว์ พาร์ทนี้ก็วัดเชาว์ คิดเลข แข่งกับเวลา อันนี้ไม่ค่อยแปลกคือคิดได้ก็ได้ ดวงดีก็ได้ไปต่อ ก็ดูยุติธรรมดี (แต่เราก็ได้น้อย)
-พาร์ทจริยธรรม พาร์ทนี้ค่อนข้างวัดดวง ออกมาคะแนนแต่ละคน(ปกติ)จะอยู่ที่ 5 +- 1 แต่ก็มีพวกที่อาจจะดวงซวย หรือเรียนมาผิดๆ ก็ได้แบบ 2.8 2.3 ก็มี ก็ดึงคะแนนลงไปเยอะเหมือนกัน จะตอบเทวดาไปก็ผิด จะตอบเลวไปก็ผิด ตอบกลางๆก็ผิด คือที่ทำไป 80 ข้อนี้ยังไม่รู้เลยว่าอะไรถูกอะไรผิด นอกจาก กสพท แล้วก็ไม่มีคนรู้เฉลยจริงๆ แนะนำว่าควรเรียน บางอย่างก็มีหลักของมันที่ควรทำ อย่าใช้ใจ
-พาร์ทเชื่อมโยง พาร์ทนี้แต่ละปีมีแต่คนบอกว่าควรได้เต็ม เป็นพาร์ทที่ดึงคะแนนเราลงเยอะสุด หายไป 1.7% เลยทีเดียว คือในปีเราคนออกจากห้องสอบจะแบ่งตัวเป็นประมาณ 3 กลุ่ม คือพวกที่ได้เต็ม พวกโดนหัก 1%, โดนหัก 1.7%, โดนหัก 2% จำได้ว่าตอนจะเลือกคำตอบว่าจะเอาแบบไหนดี ก็ภาวนาในใจประมาณว่า หากฟ้าดินคิดว่าเราควรเป็นหมอจริงๆ ก็ขอให้ที่เราเลือกคำตอบนั้นถูก สรุปสุดท้ายก็คือจัดไป เกือบสอง หายไปเกือบ 20 คะแนน 55555555555555
สิ่งที่เราทำมาตลอดตั้งแต่สอบเข้าโรงเรียนเตรียมคือจดสิ่งที่งง สิ่งที่สงสัย อย่าปล่อยผ่าน จดไว้ในโน๊ต แล้วไปถามใครก็ได้ เคลียสิ่งที่อยากรู้ อย่าปล่อยให้สิ่งนั้นค้างคาอยู่ในใจเรา
ข้อสอบ 9 วิชาทุกปี แนวที่ออกจะซ้ำๆเดิม หากเราจับเวลา จับแนวได้ว่าออกเรื่องนี้ เปลี่ยนโจทย์จะช่วยได้มาก พยายามจับเวลาทุกครั้งที่ทำข้อสอบ หลังจากทวนเนื้อหาทั้งหมดจบ 1-2 รอบ ก็จัดโจทย์ไปยาวๆ อันไหนไม่แม่นก็อ่านซ้ำ ย้ำอีกครั้ง ข้อสอบเก่า+จับเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างได้จากการทำโจทย์จริงๆ แม้จะเป็นแค่ชีวะ อ่านแต่เนื้อหาอย่างเดียวแล้วคิดว่าแม่นคือฆ่าตัวตาย
หวังว่าบล็อกนี้จะช่วยใครที่หาแนวทางอ่านหนังสือได้บ้าง โชคดีนะครับ
ชอบบทความนี้รึเปล่า?
กดทวิตเป็นกำลังใจ 🤟